“มะเร็งปากมดลูก” เป็นโรคมะเร็งในเพศหญิงที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 3 ในปีนึงมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้มากถึง 6,000 คนต่อปีเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ‘มะเร็งปากมดลูก’ สามารถลดความเสี่ยงและอัตราการเกิดโรคได้ หากเราทำการป้องกันแต่เนิ่น ๆ ซึ่งผู้หญิงทุกคนควรตระหนักข้อนี้เพื่อนำมาดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก
รู้จักมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก คือโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก (จุดเชื่อมต่อระหว่างช่วงล่างของมดลูกและช่องคลอด) ซึ่งเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัส Human Papillomavirus หรือที่เรียกกันว่า เชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ไวรัส HPV มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการตั้งชื่อสายพันธ์เป็นหมายเลข โดยแบ่งตามความรุนแรงได้ 2 ประเภท
• HPV Low Risk Type เป็นประเภทที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยะเพศ ได้แก่สายพันธุ์ 6 และ 11
• HPV High Risk Type เป็นประเภทที่ทำให้เกิดมะเร็งซึ่งอาจเกิดในบริเวณช่องคลอด อวัยวะเพศชาย ทวารหนัก ช่องปาก หรือลำคอ ได้แก่สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66 และ 68
แต่สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยมีเพียงสองสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 16 ที่พบในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมากถึง 50% และสายพันธุ์ 18 ที่พบมากถึง 15% ด้วยกัน
ปัจจัยเสี่ยงก่อโรคมะเร็งปากมดลูก
เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย ได้แก่
• อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
• การมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็จะเพิ่มโอกาสในการได้รับเชื้อไวรัส HPV
• เคยมีแผลหรือการอักเสบบริเวณปากมดลูกแต่ไม่ได้รับการรักษา
• กินยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 5 ปี
• การไม่รักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด รวมถึงอวัยวะเพศของฝ่ายชาย
• มีลูกตั้งแต่อายุยังน้อย (อายุน้อยกว่า 20 ปี) รวมถึงผู้หญิงที่มีลูกหลายคน
• สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น โรคหนองในเทียม (chlamydia) โรคหนองในแท้ (gonorrhea) โรคซิฟิลิส (syphilis) หรือป่วยเป็นโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงอย่างโรคเอดส์
• ผู้หญิงที่ไม่ได้ตรวจภายในเป็นประจำ จึงไม่เจอรอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง
แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อไวรัส HPV ในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ร้อยละ 90 ร่างกายจะสามารถรักษาให้หายไปได้เองภายใน 1-2 ปีโดยไม่แสดงอาการ
สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นมะเร็งปากมดลูก
- เลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่ได้มีประจำเดือนหรือในวัยที่หมดประจำเดือนไปแล้ว ประจำเดือนมาผิดปกติ นานขึ้นหรือมากขึ้นผิดปกติ หรือ หลังการมีเพศสัมพันธ์
- ตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมากขึ้นและมีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดปน
- รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าช่องคลอดไม่ได้แห้งจนเกิดการเสียดสี รวมถึงมีเลือดปนออกมากับสารคัดหลั่งที่ออกมาจากช่องคลอดในปริมาณมาก
- ปวดท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานแม้จะไม่ใช่ช่วงใกล้มีประจำเดือน หรือปวดท้องในช่วงใกล้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจรู้สึกเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรงอยู่ตลอดเวลา ทำให้เหนื่อยง่ายกว่าปกติ รวมถึงปัสสาวะบ่อยหรือบางครั้งรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งอาการเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่น ๆ ดังนั้นถ้าหากมีความกังวลควรพบแพทย์ เพื่อรับคำวินิจฉัยเพิ่มเติม
มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้
เริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมของเราเอง โดยลดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้เรายังมีตัวช่วยอื่น ๆ ที่ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากมะเร็งปากมดลูกได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนหรือตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การฉีดวัคซีน เป็นการฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีหลายประเภทโดยแบ่งจากจำนวนสายพันธุ์ที่ป้องกันได้ ได้แก่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 2 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18) 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18) และ 9 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6,11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) ซึ่งทุกประเภทจะป้องกันสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดแพทย์แนะนำให้ ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี หรือ สำหรับผู้หญิงที่อายุไม่เกิน 45 ปีและเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ก็สามารถฉีดได้ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุยังน้อย
มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้
เริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมของเราเอง โดยลดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้เรายังมีตัวช่วยอื่น ๆ ที่ทำให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากมะเร็งปากมดลูกได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนหรือตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การฉีดวัคซีน เป็นการฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีหลายประเภทโดยแบ่งจากจำนวนสายพันธุ์ที่ป้องกันได้ ได้แก่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 2 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18) 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18) และ 9 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6,11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) ซึ่งทุกประเภทจะป้องกันสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดแพทย์แนะนำให้ ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี หรือ สำหรับผู้หญิงที่อายุไม่เกิน 45 ปีและเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ก็สามารถฉีดได้ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุยังน้อย
แหล่งที่มาของข้อมูล
• โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cervical-cancer
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january2008/be-prepared-for-cervical-cancer-prevention
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2020/9-valent-human-papillomavirus-vaccine
https://bit.ly/3HafkUc
• คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/protfolio/knowledge/gyne/servix
• โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3tVCp9e
• โรงพยาบาลเมดพาร์ค
https://www.medparkhospital.com/content/cervical-cancer
• โรงพยาบาลเปาโล
https://bit.ly/3qUOtWj
https://bit.ly/3rFYu98
https://bit.ly/32rP8Fm
• โรงพยาบาลพญาไท
https://bit.ly/3KPx7lE