ไม่มีข้อมูล

ค้นหาในทุกหมวด
*โปรดระบุคำค้นหา
18 พฤษภาคม 2565

เคลียข้อสงสัย มีแผลในปากเป็นร้อนใน หรือเป็นเริมกันแน่

การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาแบบแพทย์แผนจีนที่ใช้สืบต่อกันมานานกว่า 4,000 ปี ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ในปี 1979 แล้วว่าสามารถใช้รักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้จริง วันนี้เราจึงนำข้อมูลเรื่องการฝังเข็มรักษาโรคมาแนะนำเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการป่วยต่าง ๆ

การฝังเข็มคืออะไร?

การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์ของจีนโบราณ โดยการนำเข็มขนาดบางมาก ๆ ขนาดประมาณ 0.1 – 0.3 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 6 – 8 เท่า ฝังลงไปตามจุดต่าง ๆ บนร่างกายตามเส้นลมปราณ เพื่อปรับสมดุลร่างกายและทำให้อาการป่วยบรรเทาลงได้ เนื่องจากกลไกของการฝังเข็มเป็นการกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของลมปราณและการหลั่งสารต่าง ๆ ได้แก่
• กระตุ้นการหลั่งเอ็นดอร์ฟิน ที่ช่วยระงับอาการปวดและลดอาการอักเสบได้
• กระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและการเกร็งของกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาทอีกด้วย
• กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งมีทั้งแบบกระตุ้นเฉพาะบริเวณที่ฝังเข็มและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย
• ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่จุดกดเจ็บหรือ Trigger point ที่เป็นจุดปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
• ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

โรคที่รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม

  1. กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหัว ไมเกรน ปวดคอหรือไหล่ อาการปวดเรื้อรังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงอาการปวดจากการผ่าตัดด้วย
  2. โรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสันหลัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วเมื่อรักษาควบคู่ไปกับวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
  3. โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น โรคข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง Myofascial Pain Syndrome
  4. โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ภูมิแพ้ เม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นต้น
  5. โรคมะเร็ง สามารถใช้การฝังเข็มร่วมกับการรักษาแบบอื่น เช่น การทำเคมีบำบัด การฉายรังสี โดยจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  6. ฟื้นฟูสมรรถภาพของสมองจากโรคหลอดเลือดสมอง
  7. โรคอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาตามแต่บุคคล เช่น อาการปวดประจำเดือน ภาวะการมีบุตรยาก

การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม

  1. รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนการมาฝังเข็มเสมอ เพราะหากท้องว่างอาจทำให้เป็นลมได้
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ
  3. สวมเสื้อผ้าสบาย ๆ ไม่คับจนเกินไป
  4. ขณะรับการรักษา หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกปวดมากขึ้น หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม ต้องรีบแจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ทราบทันที

ผู้ที่ไม่ควรเข้ารับการฝังเข็ม

  1. ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่ทานยาสลายลิ่มเลือด
  2. ผู้ที่เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  3. ผู้ที่ตั้งครรภ์
  4. ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะในการฝังเข็มจะมีการกระตุ้นไฟฟ้าช่วยซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ

ผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการฝังเข็ม
การรักษาด้วยการฝังเข็มแม้ว่าจะเป็นทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำและผลข้างเคียงน้อย แต่ก็อาจจะมีอันตรายได้ เช่น

  1. เกิดเลือดออก รอยฟกช้ำ ซึ่งเกิดจากเข็มไปถูกเส้นเลือดเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง อาการนี้สามารถหยุดได้เองโดยใช้ก้อนสำลีกดไว้ซักครู่
  2. อาการเป็นลม เกิดจากที่ผู้เข้ารับการรักษากลัวเข็ม หรือกังวลมาก ๆ จะดีขึ้นเมื่อได้นอนพัก
  3. การติดเชื้อ เช่น ตับอักเสบ หรือ HIV ซึ่งเกิดจากการใช้เข็มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือใช้เข็มซ้ำ ดังนั้นควรเลือกสถานรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ
    แม้ว่าการฝังเข็มจะได้รับการรับรองแล้วว่าสามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยได้จริงและเป็นวิธีที่มีผลข้างเคียงน้อย แต่การรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง เพราะการตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน อาจรับรองไม่ได้ว่าการฝังเข็มจะได้ผลอย่างที่ต้องการหรือไม่ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรรับการรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันรูปแบบอื่นด้วย
    สำหรับลูกค้ากรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับบริการสุขภาพด้านต่างได้ที่ https://www.krungthai-axa.co.th/th/HealthServices

แหล่งที่มาของข้อมูล

• โรงพยาบาลกรุงเทพ
https://www.bangkokhospital.com/content/acupuncture-treat-sports-injury
• คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1048
• โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กระทรวงสาธาราณสุข
https://1th.co/go5xQ5xQ5xQ
• โรงพยาบาลสินแพทย์
https://1th.co/go5xS5xS5xS
• เว็บไซต์พบแพทย์
https://1th.co/go5xR5xR5xR

บทความสุขภาพที่สำคัญ