ไม่มีข้อมูล

ค้นหาในทุกหมวด
*โปรดระบุคำค้นหา
18 พฤษภาคม 2565

ปวดคอร้าวไปหลัง สัญญาณเสี่ยงหมอนรองกระดูกเสื่อม ทับเส้นประสาท เช็คด่วนอย่างวางใจ

แม้ว่าโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะเป็นอาการเสื่อมตามปกติของร่างกายที่ทุกคนต้องเจอ ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันมีชาวออฟฟิศจำนวนมากที่เป็นโรคนี้และตัวเลขก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องด้วยสถานการณ์ที่หลายคนต้อง Work From Home และใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณคอและแผ่นหลังไม่ถูกต้อง ทั้งจากการนั่งเป็นเวลานานและนั่งทำงานผิดท่า จะมีอาการอย่างไรบ้างไปดูกัน

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไร

หมอนรองกระดูกมีลักษณะเหมือนกับหมอนนิ่ม ๆ ที่คั่นอยู่ระหว่างกระดูกแข็ง ทำให้กระดูกมีความยืดหยุ่นสามารถขยับไปมาได้ เปลือกนอกของหมอนรองกระดูกจะแข็งแต่ภายในจะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเหนียวนุ่มคล้ายเจลลี่ เพื่อช่วยรองรับแรงกดทับหรือการกระแทก หากเปลือกนอกฉีกขาดเป็นแผลและเกิดรูขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างในก็จะไหลออกมา โดยปกติแล้วภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถรักษาอาการนี้ให้หายเองได้ใน 4-6 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้นจะมีอาการปวดทรมานรุนแรงมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการรักษาเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้นและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบริเวณคอและเอว ที่กระดูกสันหลังส่วน Cervical Vertebrae ลำดับที่ C5 - C6 และส่วน Lumbar Vertebrae ลำดับที่ L4 – L5 โดยถ้าเกิดขึ้นบริเวณคอจะมีอาการปวดรอบ ๆ ต้นคอร้าวลงมาไหล่ 1 หรือ 2 ข้าง ขยับคอไม่ค่อยได้ ส่วนหมอนรองกระดูกบริเวณเอวจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หน่วง ๆ ที่เอว อาจร้าวลงมาที่กล้ามเนื้อด้านข้างของหลังและสะโพก หากมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะรู้สึกปวดร้าวลงขา บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกชาที่แขน ขา มือ หรือเท้า หากรุนแรงมากจะส่งผลกับการควบคุมระบบขับถ่ายได้

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ทำ

  • สึกหรอตามการใช้งาน เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ขับรถระยะทางไกลเป็นประจำ การยืนหรือเดินต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมถึงยกของหนักบ่อยครั้ง ทำให้เกิดแรงกดทับที่หมอนรองกระดูก
  • รูปร่างใหญ่ น้ำหนักมาก ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมากกว่าคนทั่วไป จึงมีโอกาสที่หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
  • อุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเล่นกีฬา เช่น การถูกกระแทกแรง ๆ ทำให้คอสะบัดไปมาอย่างรวดเร็ว หรือกระดูกสันหลังบริเวณเอวถูกกระแทกโดยตรง ส่งผลให้กระดูกและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่รักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการลดอัตราเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงขึ้นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

  • ควรหยุดพักเป็นระยะเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องอยู่ในอิริยาบถเดิมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เช่น ตั้งเวลาเพื่อลุกขึ้นขยับร่างกายระหว่างทำงานทุก ๆ 1 ชั่วโมง เปลี่ยนเป็นโต๊ะทำงานแบบปรับระดับได้ ทำให้ยืนทำงานพร้อมยืดเส้นยืดสายได้ในเวลาเดียวกัน จอดรถหรือแวะปั๊มน้ำมันเพื่อยืดเส้นยืดสาย
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • ดูแลร่างกายให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ทำกายภาพบำบัด และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาและค่าใช้จ่าย

ปัจจุบันการวินิจฉัยระดับอาการโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมที่แม่นยำที่สุดคือการทำ MRI โดยดูจากสีของหมอนรองกระดูก ถ้ามีสีดำแปลว่าหมอนรองกระดูกเสื่อม ส่วนการรักษาเริ่มต้นด้วยการทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งร่วมกับการทำกายภาพบำบัด หากไม่ได้ผลแพทย์จะใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง (Transforaminal Epidural Steroid Injection หรือ TESI) แต่หากอาการรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์จะพิจารณาให้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงสุดอยู่ที่มากกว่า 400,000 บาท
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวและอาจเกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อ การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับค่ารักษาก้อนใหญ่ที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ประกัน iHealthy Ultra ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายคือตัวเลือกที่คุณสามารถวางใจได้ เพราะกรมธรรม์จะดูแลค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดตามที่จ่ายจริง ทำให้คุณสามารถพักรักษาตัวได้อย่างไร้กังวล รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.krungthai-axa.co.th/th/ihealthy-ultra

แหล่งที่มาของข้อมูล

• คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1314
• โรงพยาบาลพญาไท
https://1th.co/go5xp5xp5xp
• โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://bit.ly/3tYc0b8
• โรงพยาบาลกรุงเทพ
https://1th.co/go5xr5xr5xr
https://1th.co/go5xs5xs5xs
• โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
https://1th.co/go5xt5xt5xt
• โรงพยาบาลเวชธานี
https://1th.co/go5xv5xv5xv

บทความสุขภาพที่สำคัญ