ไม่มีข้อมูล

ค้นหาในทุกหมวด
*โปรดระบุคำค้นหา
11 เมษายน 2565

ผู้หญิงมีลูกได้ถึงอายุเท่าไหร่ อยากมีลูก แต่ทำไมท้องยาก เพราะผู้ชาย หรือ ฝ่ายหญิง

ความฝันหนึ่งของหลายคู่รักคือการมีครอบครัวที่พร้อมไปด้วยพ่อแม่และลูกน้อย แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาวะมีบุตรยากมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวยุคใหม่จำนวนไม่น้อยจึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ฝันเป็นจริง และหนึ่งในนั้นคือการพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยแก้ปัญหาสำคัญนี้ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาการมีบุตรยาก ต้องไม่พลาดข้อมูลที่เรานำมาบอกต่อกัน ทั้งการทำความเข้าใจกับภาวะมีบุตรยาก พฤติกรรมเสี่ยง รวมไปถึง 3 วิธีการที่จะช่วยให้การมีบุตรประสบความสำเร็จ

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร

ภาวะมีบุตรยากหรือภาวะไม่เจริญพันธุ์ คือ การที่คู่สมรสที่พร้อมจะมีลูก มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง1 ปี แต่ไม่สามารถมีลูกหรือทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้ เช่น ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะอาจมีปัญหาในการตกไข่ รวมถึงไข่ไม่สมบูรณ์ หรือฝ่ายชายที่มีจำนวนอสุจิน้อย อสุจิไม่สมบูรณ์ เป็นต้น

พฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้มีบุตรยาก

แน่นอนมีหลากหลายพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้หลายครอบครัวมีบุตรยาก ลองมาเช็กกันดูว่าคุณกำลังปฏิบัติตัวในลักษณะดังนี้หรือไม่

  • เกิดความเครียดบ่อย โดยฮอร์โมนจากความเครียดจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไข่ไม่ตกหรือไม่สมบูรณ์
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ในผู้ชายจะส่งผลโดยตรงต่อการดูดซึมสารอาหารพวกแร่ธาตุและวิตามิน ทำให้ความแข็งแรงและปริมาณอสุจิของผู้ชายลดลง สำหรับผู้หญิงนั้นการที่ร่างกายได้รับแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้โอกาสมีลูกลดลงถึง 50% ซึ่งผู้หญิงไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 Drink หรือเทียบได้กับไวน์ 120 มิลลิลิตร
  • ได้รับคาเฟอีนมากเกินกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเปรียบได้กับกาแฟ 3 แก้ว โดยเฉพาะในผู้หญิงที่คาเฟอีนจะไปชะลอการตั้งครรภ์ ส่งผลให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลงถึง 26% เลยทีเดียว
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ เพราะในบุหรี่มีสารพิษที่มีอันตรายต่อร่างกาย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนต่อวันจะส่งผลให้อัตราการตกไข่ลดลง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของมดลูกที่เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนอีกด้วย ส่วนในผู้ชายนั้นถ้าสูบเกินกว่า 20 มวนต่อวันจะทำให้พบสารแคดเมียมในน้ำอสุจิสูงขึ้น ทำให้จำนวนและคุณภาพอสุจิของฝ่ายชายจะลดลง
  • อายุที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนเพศลดลง โดยในฝ่ายหญิงการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้คุณภาพและปริมาณการตกไข่ลดลง หรือถ้าหากตั้งครรภ์ก็มีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะไม่สมบูรณ์ ส่วนในฝ่ายชายนั้นการลดลงของเทสโทสเตอโรนทำให้ปริมาณอสุจิในน้ำเชื้อลดลง
  • มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินมาตรฐาน ซึ่งทั้งสองแบบส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลง เพราะร่างกายจะปรับตัวเพื่อให้พร้อมกับการมีลูกได้ยากขึ้น โดยเราสามารถคำนวณดัชนีมวลกายหรือ BMI เพื่อตรวจเช็กว่าน้ำหนักตัวเราอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าหากคำนวณแล้วได้ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์สมส่วน
  • ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการเจริญพันธุ์และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ รวมถึงร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจึงมีความพร้อมในการมีลูกมากกว่าคนไม่ออกกำลังกาย
  • ร่างกายได้รับสารโลหะหนักอย่างตะกั่วหรือแคดเมียมมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่มีสารปนเปื้อนหรือการใช้เครื่องสำอาง ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของรังไข่

3 วิธีทางการแพทย์ที่สร้างโอกาสในการมีบุตร

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันทั้งสองฝ่ายแล้วพบว่ายังอยู่ในกลุ่มของผู้มีบุตรยาก การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญน่าจะเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้การมีครอบครัวในฝันเป็นจริงได้ ซึ่งหลังจากได้รับการวินิจฉัยร่างกายของคู่รักอย่างละเอียดแล้ว แพทย์จะมีวิธีการตัดสินใจเพื่อเลือก วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามแต่ละกรณี

  1. IUI (Intra - Uterine Insemination) หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง โดยจะทำการคัดกรองคุณภาพอสุจิตัวที่แข็งแรงอย่างน้อย 1 ล้านตัว เพราะถ้าหากน้อยกว่านี้จะลดโอกาสในการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นจึงฉีดน้ำเชื้อที่คัดกรองมาแล้วเข้าไปในโพรงมดลูก ผ่านท่อพลาสติกขนาดเล็กที่สอดเข้าไปปากมดลูก โดยช่วงเวลาที่ฉีดเชื้ออสุจินั้นต้องเป็นช่วงที่ไข่ตกหรือใกล้กับเวลาที่มีไข่ตก เมื่อตัวอสุจิเข้าไปแล้วก็จะว่ายไปยังไข่ที่ท่อนำไขและเกิดการปฏิสนธินั่นเอง

    undefinedundefined

แหล่งที่มาของข้อมูล

• โรงพยาบาลกรุงเทพ
https://www.bangkokhospital.com/content/infertility-problems-for-people-wanting-to-have-baby
https://www.bangkokhospital.com/content/ivf-and-icsi
https://www.bangkokhospital.com/content/iui-for-people-wanting-to-have-baby
• โรงพยาบาลพญาไท
https://bit.ly/3g1x5sF
https://bit.ly/3GYI16r
• งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
https://bit.ly/3AwVJv2

บทความสุขภาพที่สำคัญ